วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กล้ามเนื้อ

ในร่างกายของคนเรานั้นมีเนื้อเยื้อกล้ามเนื้อประมาณ 40 - 50 % ของน้ำหนักแต่ละบุคคล มีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้ 1. สามารถหดตัวได้ ( Contractibility ) 2. สามารถยืดออกได้ ( Extensibility ) 3. สามารถยืดหยุ่นคล้ายยางได้ ( Elasticity ) 4. สามารถดำรงคงรูปอยู่ได้ ( tonus )ลักษณะทั่ว ๆ ไปของกล้ามเนื้อประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ ภายในไซโทพลาซึม จะมีโปรตีนที่เกี่ยวกับการหดตัว ได้แก่ โปรตีนเส้นใยบาง เรียกว่า แอกทิน ( Actin ) และโปรตีนเส้นใยหนาเรียกว่า ไมโอซิน ( Myosin )กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งตามลักษณะการทำงานออกได้เป็น 3 ชนิดคือ ความหมายของกล้ามเนื้อคงรู้ดีนะครับ มีในหนังสือสุขศึกษา (ผมจะพิมพ์ตรงที่สำคัญ) 1. กล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscle ) 2. กล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac Muscle ) 3. กล้ามเนื้อลาย ( Skeleton Muscle ) กล้ามเนื้อลายสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ 1. กล้ามเนื้อแดง จะตอบสนองต่อกิจกรรมเกี่ยวกับความทนทาน เช่น วิ่งมาราธอน 2. กล้ามเนื้อขาว จะตอบสนองต่อกิจกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานและความเร็ว เช่นวิ่งเร็ว หรือ ยกน้ำหนัก 3. กล้ามเนื้อกึ่งแดงกึ่งขาว จะมีคุณสมบัติเป็นกลางระหว่างกล้ามเนื้อแดงและกล้ามเนื้อขาวโครงสร้างกล้ามเนื้อลายในกล้ามหนึ่งมัด ( Bundle ) จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ มากมาย เรียงซ้อนกันอยู่อย่างมีระเบียบ โดยมีเนื้อเยื้อเกี่ยวพันเอพีไมเซียม ( Epimysium ) หุ้มอยู่โดยรอบ และจะแทรกเข้าไประหว่างมัดเล็ก ๆ ของกล้ามเนื้อเรียกว่า ฟาสซิเคิล ( Fascicle ) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อมัดเล็กๆนี้ เรียกว่า เพริไมเซียม ( Perimysium ) นอกจากนี้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันยังแทรกลงไปหุ้มกล้ามเนื้ออีก เรียกว่า เอนโดไมเซียม ( Endomysium ) เพื่อยึดให้เส้นใยกล้ามเนื้ออยู่ติดกันหรือติดกับเยื่อหุ้มกระดูกจากการศึกษากล้ามเนื้อแดงภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แบบอิเล็กตรอน จะเห็นแถบตามขวางสีจางและแทบสีทึบสลับกัน ในซาร์โคพลาซึมจะประกอบด้วย นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย และสารอื่น ๆ ได้แก่ ไมโอโกลบิน ไขมัน ฟอสโฟครีเอทีน อะดีโนซีน(อยากรู้ว่าเป็นญาติฝ่ายไหนของ อะดีนาลีน มุกฮะมุก แก้เครียดนิดนึง )ไตรฟอสเฟต และเส้นใยโปรตีน ขนาดเล็ก ๆ อีกจำนวนมากเรียกว่า ไมโอไฟบริล ( Myofibrill ) อันเป็นหน่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อการเรียงตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อ 1. เรียงตามยาว( Longitudinal )ได้แก่ Rectus abdominis , Sartoreus 2 .เรียงตัวแบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ได้แก่ Ouadratus pronator 3. เรียงต่อแบบสามเหลี่ยม ได้แก่ pectoralis major 4. เรียงตัวแบบขนนกครึ่งซีก ได้แก่ กล้ามเนื้อนิ้วมือ นิ้วเท้า 5. เรียงตัวแบบขนนกเต็มได้แก่ Vastus medialis 6. เรียงตัวแบบขนนกหลายอันซ้อนกันได้แก่ Deltoideus 7. เรียงแบบกระสวย ได้แก่ Rectus femorisการสังเคราะห์พลังงานกล้ามเนื้อแบ่งออกได้ 2 แบบ คือไม่ใช้ออกซิเจน และ ใช้ออกซิเจน 1. การสังเคราะห์ แบบไม่ใช้ออกซิเจน จะอาศัยการแตกตัวของสารพลังงานที่สะสมอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อนั้นคือ ATP พลังงานที่เกิดขึ้นจะใช้สำหรับการหดตัวของการเนื้อดังสมการATP >>>>> ADP + Pi +พลังงานสำหรับ ADP ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกริยากับ PC เพื่อสังเคราะห์ ATP ขึ้นมาใหม่ ดังสมการADP + CP >>>>> ATP + C 2. การสังเคราะห์แบบใช้ออกซิเจน คือการสันดาป กรดแลกติกที่เกิดขึ้นเพื่อสังเคราะห์ไกลโคเจนขึ้นมาใหม่ (ไม่รู้จะเขียนสมการยังไงมันเขียนในนี้ไม่ได้อะ )จบครับ ขีเกียจเขียนละเมื่อยไว้วันหลังจะเขียนรายชื่อกล้ามเนื้อมัดสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายของคนเรา และหน้าที่ของมันนะครับ จะทำให้แต่รอให้ขยันก่อนนะ อ้างอิงจาก www.thaimuscle.com

1 ความคิดเห็น:

  1. กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออยู่พอดีเลยครับ

    ขอบคุณมากครับ

    จากนายกล้องจุลทรรศน์

    ตอบลบ